งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (อพสธ.) วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ช.เทค)

ทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกศาสตร์.pdf

ทะเบียนพรรณไม้

โครงการ ช.เทค ขับเคลื่อนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)


วัตถุประสงค์

๑. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยการเก็บและรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในวิทยาลัย ให้เกิดความเข้าใจในพรรณไม้ชนิดต่างๆ จากการปฏิบัติจริง  (การสัมผัส)  

๒. เพื่ออบรมครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษาแกนนำให้มีความรู้ ความเข้าใจในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (การเรียนรู้)

๓. เพื่อส่งเสริมการออกแบบการจัดการเรียนรู้ จัดทำแผนจัดการเรียนรู้ ใบงาน และสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆ บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในรายวิชาต่างๆ บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ (การสร้างและปลูกฝังคุณธรรม)

๔  เพื่อศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่อยอดเชิงพาณิชย์  (การเสริมสร้างปัญญาและภูมิปัญญา) 

๕. เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของวิทยาลัย และเตรียมรับการประเมินเกียรติบัตรชั้นที่ ๑ ในปีการศึกษา ๒๕๖๘  

การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

ด้านที่ 1 การบริหารและการจัดการ โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วางแผนการบริหารและแผนการจัดการเรียนรู้ การดำเนินงานตามแผน สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ผลและปรับปรุงพัฒนางาน รายงานผลการดำเนินงานให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ทราบอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง 

ด้านที่ 2 การดำเนินงาน 

องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ 

1.1 การกำหนดพื้นที่ และการสำรวจพรรณไม้ 

1.2 การทำผังพรรณไม้ 

1.3 การศึกษาพรรณไม้ในโรงเรียน 

1.4 การทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ดอง เฉพาะส่วน 

1.5 การทำทะเบียนพรรณไม้ 

1.6 การทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ 

องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน 

2.1 การสำรวจสภาพภูมิศาสตร์และการศึกษาธรรมชาติ 

2.2 กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก และกำหนดการใช้ประโยชน์ 

2.3 การทำผังภูมิทัศน์ 

2.4 การจัดหาพรรณไม้ และการปลูกพรรณไม้ 

2.5 การศึกษาพรรณไม้หลังการปลูก 

องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ 

3.1 การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้ 

3.2 การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ (พืชศึกษา) 

องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ 

4.1 รวบรวมผลการเรียนรู้ คัดแยกสาระสำคัญ และจัดเป็นหมวดหมู่ 

4.2 การเขียนรายงานแบบวิชาการ แบบบูรณำการ 

4.3 วิธีการรายงานผลในรูปแบบต่างๆ 

องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา 

5.1 การนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน 

5.2 การเผยแพร่องค์ความรู้ 

5.3 การใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ 

ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน 

3.1 สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียน มีความสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น น่าอยู่ 

3.2 โรงเรียนมีบรรยากาศของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

3.3 บุคลากร และผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม 

3.4 ผลการดำเนินงานของโรงเรียน บุคลากร และผู้เรียน ดีเป็นที่ยอมรับ

ระดับการประเมินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

1. ป้ายสนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

2. เกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ขั้นที่ 1 : เกียรติบัตรแห่งความมุ่งมั่น อนุรักษ์ สรรพสิ่ง สรรพชีวิต ด้วยจิตสำนึกของครูและเยาวชน 

3. เกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ขั้นที่ 2 : เกียรติบัตรแห่งการเข้าสู่สถานภาพสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ บนฐานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

4. เกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ขั้นที่ 3 : เกียรติบัตรแห่งการเป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ บนฐานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน