สารสนเทศ

เกียรติประวัติ

1. ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานการอาชีวศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา- สมศ. (องค์การมหาชน) ระดับดีมาก

2. ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ระดับดีมาก

3. รางวัลชมเชย สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา

4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบนำร่อง โครงการกองทุนการศึกษา ทำเนียบองคมนตรี

5. ศูนย์ฝึกอาชีพในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

6. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (สถานศึกษาเครือข่าย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

7. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับ บมจ. เอสวีโอเอ (มหาชน) บจ. อีซูซุกรุงเทพบริการ, บจ. มาลาพลาส, บจ. ท๊อปพลาสแพค และ บจ.มาร์ซัน

8. บันทึกความร่วมมือ โครงการการพัฒนาองค์กรเพื่อก้าวไปสู่ Happy Workplace อย่างยั่งยืน

9. บันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ

10. รางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ของคุรุสภา โครงการเตาเผาขยะ : ชำนิรักษ์โลก

11. โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ : ทักษะชีวิตด้านเพศศึกษา (สสส.)

12. กิจกรรมบริการวิชาชีพและวิชาการให้กับชุมชน

ข้อมูลสารสนเทศ

ข้อมูลสถานศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป

ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ช.เทค)

ได้รับอนุญาต ให้จัดตั้ง วันที่ 29 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2526

ที่ตั้ง เลขที่ 330 หมู่ที่ 2 ซอยอู่ทอง ถนนพุทธรักษา ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ 10280

โทรศัพท์ 0-2382-7471-72 โทรสาร 0-2701-5701

Website http://www.chtech.ac.th E-mail : chtech.ac.th@gmail.com

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา


ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

  • จำนวนอาคารเรียน 1 หลัง

  • จำนวนอาคารประกอบ 4 หลัง

  • จำนวนห้องเรียน 24 ห้อง

  • จำนวนห้องปฏิบัติการ 14 ห้อง

  • จำนวนห้องพักครู 7 ห้อง

  • จำนวนห้องประกอบ 36 ห้อง


ข้อมูลทรัพยากรของโรงเรียน

ตารางการใช้ทรัพยากรจำแนกตามสถานที่ใช้งาน

จำนวนทรัพยากรที่ใช้งาน

รายการทรัพยากร ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สำนักงาน

6.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ 5 70 19

6.2 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย 0 36 2

6.3 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ 0 0 0

6.4 เครื่องจักรกล 0 111 0

6.5 เครื่องยนต์ 0 97 0


แหล่งเรียนรู้

1. แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา

ตารางการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา

แหล่งเรียนรู้ ขนาด (ตร.ม.) จำนวนผู้เรียนที่ใช้ต่อปี

1. ห้องสมุด 150 515

2. ห้องคอมพิวเตอร์ 174 515

3. ห้องแนะแนว 50 250

4. ลานอเนกประสงค์ 150 515

5. ห้องโสตทัศนูปกรณ์ 50 515

6. สนาม 4,100 515


2. แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

ตารางการใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

แหล่งเรียนรู้ จำนวนครั้งที่ใช้ต่อปี จำนวนผู้เรียนที่ใช้ต่อปี

1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 12 515

2. สถานประกอบการที่ใช้ฝึกงาน 94 151

3. วัด 3 210

4. ศูนย์การประชุม/สถานแสดงนิทรรศการ 4 220

5. สถานประกอบการที่ให้บริการวิชาการ 3 100


ข้อมูลบุคลากรและผู้เรียน


ข้อมูลหลักสูตร


ข้อมูลงบประมาณ


ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคม

2. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนบริเวณสถานศึกษา


2.1 สภาพสังคมของชุมชน เป็นชุมชนเมือง สังกัดเทศบาลตำบลบางปู มีการขยายตัวของชุมชน ภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการอย่างต่อเนื่อง มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานพร้อม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีอนามัยท้ายบ้านใหม่ วัดแพรกษา โรงเรียนสมุทรปราการ และนิคมอุตสาหกรรมบางปู มีประชากรประมาณ 30,000 คน ประชากรร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ


2.2 สภาพเศรษฐกิจของชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง โครงสร้างเศรษฐกิจมี 3 ส่วน คือ ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การค้าและบริการ รายได้ของประชากรต่อหัวประมาณ 100,000 บาท/ปี


2.3 ข้อมูลของผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย วุฒิการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาขึ้นไป ฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 120,000 บาท บางส่วนย้ายถิ่นฐานมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาทำงานในเขตอุตสาหกรรม



ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน






ข้อมูลจังหวัดสมุทรปราการ


แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (2561-2564)


สภาพภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและขนาดพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๔ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๖๒๗,๕๕๗ ไร่

- ทิศเหนือติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง ๕๕ กิโลเมตร

- ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย (พื้นที่ชายฝั่งทะเล) ระยะทาง ๔๗.๒๐ กิโลเมตร

- ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๔๒.๖๐ กิโลเมตร

- ทิศตะวันตกติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง ๓๔.๒๐ กิโลเมตร


ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลาง แยกพื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตะวันออก แบ่งพื้นที่ออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ

(๑) บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด

(๒) บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึงและที่ดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง

(๓) บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและทางตะวันออก ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกันตลอด มีคลองชลประทานหลายแห่ง


สภาพภูมิอากาศ เป็นอากาศแบบชายทะเล อากาศเย็นไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาวก็ไม่หนาวจนเกินไป


ประชากร

จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรเป็นอันดับ ๒ ของภาคกลาง รองจากกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ มีประชากรย้ายถิ่นจากที่อื่นมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนประชากรที่มีอยู่จริงสูงกว่าจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ (จำนวนประชากรแฝงประมาณเกือบ ๑ เท่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุด


การคมนาคม

1. ทางบก จังหวัดสมุทรปราการมีทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญดังนี้

(๑) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท)

(๒) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา - ตราด)

(๓) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓ (ถนนสุขสวัสดิ์)

(๔) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๐๔ (ถนนเพชรหึงส์)

(๕) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๓ (ถนนปู่เจ้าสมิงพราย)

(๖) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๖ (ถนนแพรกษา)

(๗) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๗ (ถนนปานวิถี)

(๘) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๓ (ถนนแหลมฟ้าผ่า)

(๙) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๔ (ถนนศรีนครินทร์)

(๑๐) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ (ถนนกิ่งแก้ว)

(๑๑) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ (ถนนเทพารักษ์)

(๑๒) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๓ (ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ)

(๑๓) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐๑ (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านซ้ายทาง)

(๑๔) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐๒ (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านขวาทาง)

(๑๕) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐๑ (ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านซ้ายทาง)

(๑๖) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐๒(ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านขวาทาง)

นอกจากทางหลวงแผ่นดิน ๑๓ สายแล้ว ยังมีทางหลวงพิเศษสายมอเตอร์เวย์ และทางด่วนเชื่อมต่อสายบางพลีสุขสวัสดิ์ (ถนนกาญจนาภิเษก) ทางพิเศษบูรพาวิถี ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ทางหลวงชนบทรวมทั้งที่ถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๘๒ สายทาง และได้มีการก่อสร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน ๒ แห่ง คือ สะพานกาญจนาภิเษก และสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม


2. ทางน้ำ จังหวัดสมุทรปราการมีท่าเทียบเรือที่สำคัญดังนี้

(๑) ท่าเรือวิบูลย์ศรี ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๒) ท่าเรือพระประแดง ตั้งอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง

(๓) ท่าเรือคลองด่าน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ

(๔) ท่าห้องเย็น ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๕) ท่าสะพานปลา ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๖) ท่าเรือข้ามฟากเภตรา เป็นแพขนานยนต์ ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากระหว่างอำเภอพระประแดงฝั่งตะวันตกและตะวันออก

(๗) ท่าเรืออายิโนะโมะโต๊ะ อยู่ในเขตอำเภอพระประแดง ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากไปยังบริเวณท่าเรือข้ามฟากเภตรา


3. ทางอากาศ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (Suwanabhumi Airport) ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ ๑๕ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ


ที่มา http://www.samutprakan.go.th/


ข้อมูลสรุปในภาพรวมของจังหวัดสมุทรปราการ ณ วันที่ 18 เม.ย. 64

จำนวนโรงงานจำแนกตามจำพวกโรงงาน

ในนิคมอุตสาหกรรม 655 โรงงาน

โรงงานจำพวกที่ 1 (นอกนิคมฯ) 0 โรงงาน

โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 105 โรงงาน

โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 6,074 โรงงาน

รวมทั้งสิ้น 6,834 โรงงาน

ข้อมูลคนงาน/เงินทุน (เฉพาะจำพวก 2 และ 3)

จำนวนประชากร 1,203,223 คน

จำนวนคนงานรวม 457,864 คน

- คนงานชาย 263,985 คน

- คนงานหญิง 193,879 คน

จำนวนเงินทุนรวม 634,400.049 ล้านบาท

ข้อมูลพื้นที่ (เฉพาะจำพวก 2 และ 3)

พื้นที่รวมทั้งจังหวัด 1,004.092 ตารางกิโลเมตร

เป็นพื้นที่โรงงาน 1,061.159 ตารางกิโลเมตร (105.68%)

เป็นพื้นที่อาคารโรงงาน 481.181 ตารางกิโลเมตร (47.92%)

จำนวนโรงงานจำแนกรายหมวดอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ลำดับที่ กลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน

1 ผลิตภัณฑ์จากพืช 84 โรงงาน

2 อุตสาหกรรมอาหาร 373 โรงงาน

3 อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม 13 โรงงาน

4 สิ่งทอ 383 โรงงาน

5 อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้า 66 โรงงาน

6 ผลิตหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ 255 โรงงาน

7 แปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 99 โรงงาน

8 เครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรือโลหะอื่นๆ 114 โรงงาน

9 ผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 132 โรงงาน

10 การพิมพ์ การเย็บเล่ม ทำปกหรือการทำแม่พิมพ์ 240 โรงงาน

11 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 459 โรงงาน

12 ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม 19 โรงงาน

13 ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 95 โรงงาน

14 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 865 โรงงาน

15 ผลิตภัณฑ์อโลหะ 128 โรงงาน

16 ผลิตโลหะขั้นมูลฐาน 153 โรงงาน

17 ผลิตภัณฑ์โลหะ 1,428 โรงงาน

18 ผลิตเครื่องจักรและเครื่องกล 336 โรงงาน

19 ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 339 โรงงาน

20 ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 567 โรงงาน

21 การผลิตอื่นๆ 686 โรงงาน

รวม 6,834 โรงงาน